วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

ข้อสอบองค์ประกอบศิลป์

                                                           

                                                         ข้อสอบ


1. ประเภทของศิลปะมี2 ประเภทมีอะไรบ้าง
   ก. วิจิตรศิลป์,จิตรกรรม
   ข. วิจิตรศิลป์,ประยุกต์ศิลป์
   ค. ประยุกต์ศิลป์,จิตรกรรมศิลป์
   ง. จิตรกรรมศิลป์ ,ประติมากรรม

2. วิจิตรศิลป์ เรียกอีกอย่างว่าอะไร
   ก. มณฑนศิลป์
   ข. จิตรกรรมศิลป์
   ค. ประณีตศิลป์
   ง. พาณิชย์ศิลป์

3. ประติมากรรม มีกี่ประเภท อะไรบ้างอธิบาย
   ก. 2 ประเภท 1. ประติมากรรมแบบผสม 2. ประติมากรรมลอยตัว
   ข. 3 ประเภท 1.ประติมากรรมนูนต่ำ 2. ประติมากรรมนูนสูง 3. ประติมากรรมภาพ
   ค. 3 ประเภท 1. ประติมากรรมนูนต่ำ 2. ประติมากรรมนูนสูง 3. ประติมากรรมลอยตัว
   ง. 1 ประเภท 1. ประติมากรรมลอยตัว

4. สถาปัตยกรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท อะไรบ้าง
   ก. ประเภทที่มนุษย์เข้าไปอยู่อาศัยได้,ประเภทที่มนุษย์เข้าไปอยู่อาศัยไม่ได้
   ข. ประเภทที่มนุษย์ทำงานได้,ประเภทที่มนุษย์ทำงานไม่ได้
   ค. ประเภทงานออกแบบ,ประเภทเอางานมารวมกัน
   ง. ประเภทประยุกต์ศิลป์,ประเภทพาณิชย์ศิลป์

5. มณฑนศิลป์ คือ
   ก. ศิลปะที่นำไปประยุกต์
   ข. ศิลปะที่นำมาผสมผสาร
   ค. การออกแบบ การวาดการเขียน
   ง. การออกแบบตกแต่งภายนอกและภายในอาคาร และการออกแบบสวน

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สัดส่วนมาตรฐานและสัดส่วนความรู้สึก


 1  สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาต ของ คน สัตว์  พืช ซึ่งโดยทั่วไป  ถือว่า สัดส่วนตามธรรมชาติ  จะมีความงามที่เหมาะสมที่สุด      หรือจากรูปลักษณะที่เป็นการ  สร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือว่า  "ส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่า  ส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับส่วนรวม"  ทำให้สิ่งต่าง ๆ  ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างลงตัว



2  สัดส่วนจากความรู้สึก    โดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของรูปทรงเพียง  อย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึง  เนื้อหา เรื่องราว ความรู้สึกด้วย  สัดส่วนจะช่วย  เน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ ลักษณะเช่น  นี้ ทำให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์ และ  ความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกต่าง ๆ กันไป เช่น   กรีนนิยมในความงามตามธรรมชาติเป็น อุดมคติ เน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรงจึงแสดงถึงความเหมือน  จริงตามธรรมชาติ ส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิม เน้นที่ความรู้สึกทางวิญญานที่น่ากลัว ดังนั้น  รูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติทั่วไป

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความกลมกลืน (Harmony) และความขัดแย้ง (Contrast)


                                                                     ความกลมกลืน
                                                          
1.กลมกลืนด้วยทิศทางของเส้น
                                                           2.กลมกลืนด้วยขนาดและสัดส่วน
                                                           3.กลมกลืนด้วยรูปร่างและรูปทรง
                                                           4.กลมกลืนด้วยวัสดุและพื้นผิว
                                                           5.กลมกลืนด้วยน้ำหนักอ่อนแก่
                                                           6.กลมกลืนด้วยสี
                                                           7.กลมกลืนด้วยเนื้อหา



ความกลมกลืน
ความกลมกลืนระหว่างพื้นผิว ประกอบด้วยกันแล้วมีความกลมกลืนเข้ากันได้ดี ไม่ขัดแย้งกัน แต่ในงานศิลปะ
   การเพิ่มความขัดแย้งเข้าไปบ้างเล็กน้อยจะช่วยให้ผลงานศิลปะน่าสนใจ 






ความขัดแย้ง
ความขัดแย้งระหว่างความขัดแย้งระหว่างฟองคลื่นอันอ่อนนุ่นในฉากหน้า และป่าไผ่เอนลู่ ดูอ่อนไหวในฉากหลังสร้างความขัดแย้งกับแพและหลังคายอดแหลมที่แข็งกระด้าง เป็นชีวิตชีวาของภาพนี้ โดยทั่ว ๆ ไป ภาพที่มีน้ำหนักทุกภาพมักจะแสดงความขัดแย้งให้รู้สึกได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นภาพน้ำกับเรือ น้ำกับแพ หรือน้ำที่บรรจุอยู่ในภาชนะต่าง ๆ

ความขัดแย้ง
ความขัดแย้งระหว่างลูกบอลสีฟ้ากับสีเหลืองเราจะเห็นได้ว่า ลูกกลมหน้าบึ้งจะมีสีฟ้าหมดยกเว้นลูกกลมสีเหลืองที่มีหน้ายิ้ม จะทำความขัดแย้งกันกับลูกสีฟ้า



วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

จุดเด่นหลัก จุดเด่นรอง จังหวะ

จุดเด่นหลัก  คือ ควรให้มีภาพเพียงจุดเดียว อย่าให้มีภาพจุดสนใจหรือจุดเด่น เพราะจะทำให้เรื่องราวขาดความเป็นเอกภาพ






จุดเด่นรอง คือ ภาพจะมีหลายจุดที่จะให้เราจับตา จะไม่เหมือนภาพจุดเด่นหลัก


จังหวะ คือ การเว้นระยะ หรือการซ้ำที่เป็นระเบียบ เป็นจังหวะโคนจากระเบียบที่เป็นธรรมชาติ ที่มีช่วง ห่างเท่าๆกัน มาเป็น ระเบียบที่สูง และซับซ้อน ของทัศนธาตุ หรือส่วนประกอบของข้อมูลฐานทัศนศิลป์



วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557